วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บรรณานุกรม



บรรณานุกรม
https://sites.google.com/site/g4economics/reuxng-thi-4-sersthkic-khxng-rea                                       10/06/2013
http://krusuranart.com/index.php/2011-11-24-13-43-57/2011-12-01-17-46-59                                10/06/2013
http://eto.ku.ac.th/s-e/index.html                                                                                                                      10/06/2013
http://www.haii.or.th/wiki84/index.php                                                                                                          10/06/2013


ภาคผนวก


การเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนา




การเพาะเห็ดของประชาชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง





พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถึงเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชน






พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะผู้แทนสมาคม
 

























พระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง



พระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
ต้นทศวรรษที่ ๒ แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลได้กำหนดแนวทางพัฒนาประเทศด้วยการประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติต่อเนื่องกันหลายฉบับ เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๔ เป็นต้นมา ถึงแม้ว่าการใช้แผนพัฒนาฯ ในช่วงแรกๆ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเติบโตอย่างรวดเร็วก็ตาม ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในภาวะพึ่งพิงเทคโนโลยี เงินทุน และพลังงานจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงสูงต่อการผันผวนจากปัจจัยภายนอกซึ่งมีผลกระทบถึง ประชาชนระดับล่างอันเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศเกิดความไม่มั่นคงจึงตามมาด้วยปัญหาสังคม นานัปการที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงเกือบ ๕ ทศวรรษที่ผ่านมา ให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งทางวัตถุและวัดความสำเร็จจากตัวเลขรายได้เฉลี่ย ต่อหัวของประชากร ผลจากแผนพัฒนาฯ เป็นที่ประจักษ์กันดี ในระยะเวลาต่อมาว่าเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ขาดการประสานกันอย่างสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงภัยที่แฝงอยู่ในการพัฒนาดัง กล่าว ทรงชี้ให้เห็นว่าควรเริ่มต้นที่การพัฒนา คนให้มีความพอมีพอกินพอใช้ก่อนเนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาทุกสิ่ง โดยเฉพาะ ผลประโยชน์และการมีส่วนร่วมของประชาชน ทรงทุ่มเทกำลังพระวรกาย พระราชหฤทัย ตลอดจนพระปรีชาสามารถพัฒนาคนไทยด้วยการสร้างความพร้อมทั้งร่างกาย ความคิด และจิตใจ และเมื่อมีพื้นฐานมั่นคงแล้ว จึงค่อยตามมาด้วยการสร้างความเจริญและฐานทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น
นับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๑๗ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง หรือแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติให้แก่ประชาชน นั่นคือ การเดินทาง สายกลางที่มีความพอเหมาะพอดี รู้จักประมาณตนมีเหตุผล พึ่งตนเอง และไม่ประมาท ตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ในการวางแผนตัดสินใจและลงมือดำเนินการใดๆ อันเป็นแนววิธีการ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชนและระดับประเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความยากจน ทั้งนี้ ทรงทำการทดลองปฏิบัติในพื้นที่เขตชนบทด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต่างๆ มากมายและขยายผลมาอย่างต่อเนื่อง และได้กลายเป็นฐานรองรับเป็นอย่างดีเมื่อประเทศต้องเผชิญกับวิกฤตหลายด้านใน เวลาต่อมา

"...ทั้งนี้ คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราพออยู่พอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้งจิตอธิษฐานปณิธาน จุดมุ่งหมายในแง่นี้ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่พออยู่พอกิน ไม่ใช่รุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่าการพออยู่พอกินมีความสงบนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้ารักษาความพออยู่พอกินได้ เราจะยอดยิ่งยวด ..."
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะผู้แทนสมาคม องค์การเกี่ยวกับศาสนา ครู นักเรียนโรงเรียนต่างๆ นักศึกษามหาวิทยาลัย ในโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗
ในเบื้องต้น แนวพระราชดำริดังกล่าวมีความก้าวล้ำเกินกว่าสถานการณ์ในขณะนั้น ประเทศไทยยังคงพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสืบต่อมา อีกหลายฉบับ เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัว ในอัตราสูงและต่อเนื่อง แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นการณ์ไกลและมีพระราชดำรัสเตือนผู้ บริหารระดับสูงและประชาชนมิให้ประมาท หลงไปกับอัตราตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงเวลานั้น โดยเฉพาะความพยายามที่จะเป็น เสือตัวที่ ๕หรือมหาอำนาจทางการค้าแห่งเอเชีย ดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัสความว่า
"...ตามปกติคนเราชอบดูสถานการณ์ ในทางดีที่เขาเรียกว่าเล็งผลเลิศ ก็เห็นว่าประเทศไทยเรานี่ก้าวหน้าดี การเงิน การอุตสาหกรรม การค้าดี มีกำไร. อีกทางหนึ่งก็ต้องบอกว่าเรากำลังเสื่อมลงไป...มีทฤษฎีว่า ถ้ามีเงินมากๆ มีการกู้มาลงทุนมากๆ หมายความว่าเศรษฐกิจก้าวหน้า แล้วประเทศก็เจริญ มีหวังเป็นมหาอำนาจ. แต่ก็ต้องเตือนเขาว่า จริง ตัวเลขดี แต่ว่าถ้าเราไม่ระมัดระวังในความต้องการพื้นฐานของประชาชน ก็จะไม่มีทาง..."
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖
อย่างไรก็ดี การที่ความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมิได้มาจากภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง กอปรกับที่ดินมีราคาสูงขึ้นอย่างผิดปกติ เกษตรกรจำนวนมากนิยมขายที่ดินออกไปแลกกับความร่ำรวยระยะสั้น ทำให้ประเทศไทยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ที่ไม่มีใครรู้ทันและไม่ทันตั้งตัว
ความวิกฤตได้ย่างมาถึงในพุทธศักราช ๒๕๔๐ ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอ เพียงอีกครั้ง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่พสกนิกรที่กำลังสิ้นหวังและท้อแท้จากวิกฤต เศรษฐกิจ ซึ่งพระราชดำรัสดังกล่าวประดุจพรวิเศษที่ทำให้พสกนิกรมีกำลังใจในการฝ่าฝัน วิกฤต
"...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ. สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง. อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัว จะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง. อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร. บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก ..."
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐
พุทธศักราช ๒๕๔๑ และพุทธศักราช ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงย้ำเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้งว่า
"...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย. ถ้าทุกประเทศมีความคิด -อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ- มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข..."
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๑

ในครั้งนี้ประชาชนจำนวนมากตลอดจนองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนต่างน้อมนำแนวพระราช ดำริอันทรงคุณค่ามาใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบธุรกิจ เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนท่ามกลางกระแส โลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งจากภายนอกและภายใน เป็นผลให้ประเทศไทยและคนไทยสามารถผ่านพ้นวิกฤตดังกล่าวมาได้ พร้อมกับมีวิถีการดำรงชีวิตอย่างใหม่ให้เลือกเดินนั่นคือ "ความพอเพียงอย่างยั่งยืน" ในระดับรัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้อัญเชิญแนวความคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ควบคู่กับกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวมที่มี "คน" เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ในการจัดทำแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๘ (พุทธศักราช ๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) และบรรจุไว้เป็นหลักการสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ (พุทธศักราช ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙) จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ (พุทธศักราช ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔)
แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสะท้อนถึงสาย พระเนตรอันยาวไกล และทรงส่งสัญญาณเตือนตลอดมา แต่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้คนไทยบางกลุ่มขาดความรอบคอบและการเฝ้า ระวังที่ดี นำพาให้ประเทศต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจหลายครั้ง ถือเป็นประสบการณ์ของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศที่พึงน้อมนำแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิถีการดำรงตน เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน อันเป็นผลดีทั้งต่อตนเองและประเทศชาติสืบต่อไป

เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ



เศรษฐกิจพอเพียงตามทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
 จากปรัญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน  ได้มีผู้นำแนวคิดไปปฏิบัติจำนวนมาก  โดยเฉพาะเกษตรกร  ได้นำ หลักการเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฏิบัติควบคู่กับ หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่มุ่งให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน  คือ  ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชนบทโดยยึดหลักการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน  และมีความชัดเจนในการกำหนดพื้นที่  โดยมีขั้นตอนและตัวอย่างในการปฏิบัติเป็นรูปธรรม 
      เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ  ตั้งแต่ระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ  ความ มีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล กระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน  ทั้งนี้  จะต้องอาศัยความรอบรู้  ความรอบคอบ  และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน  และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ  โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ  นักทฤษฎี  และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร  มีสติปัญญา  และความรอบคอบ  เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

  ขั้นตอนการปฎิบัติตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่
    การปฎิบัติตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการการเกษตรทฤษฎีใหม่  มีขั้นตอนดังนี้
        ขั้นที่ ๑ เป็นขั้นตอนตาม “หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งให้ความสำคัญในการแบ่งพื้นที่ให้ประชาชนในชนบทดำรงชีวิตได้อย่าง “ พอเพียง พอกิน” โดยดำเนินการดังนี้
๑.      แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน
๒.    ใช้พื้นที่ ๓ ส่วนแรกในการเก็บกักน้ำ  และทำการเกษตร
๓.     ใช้พื้นที่ส่วนที่ ๔ สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย
ขั้นที่ ๒ เกษตรกรจะรวมพลังในรูปของกลุ่มหรือสหกรณ์  เพื่อร่วมแรงกันในเรื่องของการผลิต  การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ ตลอดจนเรื่องการศึกษาและสังคม  ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการ  มูลนิธิและเอกชน
ขั้นที่ ๓ เกษตรกรร่วมมือกับวิสาหกิจในชุมชน  อาทิ ธนาคาร บริษัทน้ำมัน ฯ เพื่อก่อตั้งและบริหารโรงสี ร้านสหกรณ์ เมื่อกิจการมีความมั่นคงอาจขยายผลเป็น “ บริษัทหมู่บ้าน...จำกัด “
         ตัวอย่างของการแบ่งพื้นที่ตามหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่
        โดยเฉลี่ยเกษตรกรไทยมีพื้นที่ถือครองครอบครัวละ ๑๐-๑๕ ไร่ เพื่อให้เกิดผลผลิตรวมดีขึ้น จึงควรแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นสัดส่วนดังนี้
         ส่วนที่ ๑:  ร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่ ใช้เป็นพื้นที่สำหรับขุดสระน้ำหรืออ่างเก็บน้ำโดยให้มีความลึกเพียงพอที่จะบรรจุน้ำไว้ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร เพื่อกักเก็บน้ำในฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง จะได้ทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี
        ส่วนที่ ๒:  ร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่ ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำไร่ ทำนา และปลูกข้าว
        ส่วนที่ ๓:  ร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่  ใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกไม้ผล หรือทำไร่นาสวนผสม
 
             ส่วนที๔:  ร้อยละ๑๐  ของพื้นที่  ใช้เป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย  สร้างคอกสัตว์  ทำคันนา  ปลูกพืชผักสวนครัว  ทำถนน
สร้างที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการเกษตร
             การทำพื้นที่๓  ส่วนแรกจะให้ประโยชน์และคุณค่าแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่และความสามารถ
ในการบริหารจัดการ เช่นถ้ามีพื้นที่มาก ก็สามารถผลิตได้มากเกินความต้องการและถ้ามีความสามารถในการจัดเก็บได้ดี  สามารถหาตลาดเพื่อการจำหน่ายได้  ก็จะสามารถเพิ่มรายได้แก่เกษตรได้มาก

       ผลดีของการเกษตรทฤษฏีใหม่
       การนำหลักการเกษตรทฤษฏีใหม่มาใช้ในการเกษตร  จะก่อให้เกิดการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง  โดยก่อให้เกิดผลดีต่อเกษตรและสังคมโดยรวมดังนี้
๑.      พื้นที่ส่วนที่๑ คือบ่อเก็บกักน้ำ  สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
๒.     เป็นการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ  ไม่มีการปล่อยวาง   แล้วผลิตหมุนเวียนตามลักษณะพืชแต่ล่ะชนิด
๓.     ผลผลิตที่ได้หลากหลาย  พอเพียงแก่การบริโภคในครัวเรือน  อาจมากพอสำหรับการบริโภคทั้งปี
๔.     ทำให้เกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น
๕.     ทำให้เกษตรมีงานทำตลอดทั้งปี
๖.     เมื่อไม่มีเวลาว่าง  ทำให้ไม่มีเวลาในการเล่น เสพ และการบันเทิงที่อาจเกิดปัญหาชวิตและครอบครัว
๗.     ผลต่อประเทศโดยตรง ในอันที่จะช่วยให้ประเทศมั่นคง
๘.     เกิดการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง



ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล กระทบใดๆ  อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจรติและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


      ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหกวิชา และหลักธรรมหลายประการ อาทิ
            1.  เป็นปรัชญาแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ
            2.  เป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
            3.  จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
            4.  ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล กระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
            5.  จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอยและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
            6. จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ
สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      นิยามของความพอเพียง  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม  กันดังนี้
           • ความพอประมาณ หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น  การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
           • ความมีเหตุผล หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
           • การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข  การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับความพอเพียงนั้น  ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวถือ
           • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
           • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง  ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม  เช่น  มีความซื่อสัตย์สุจริต  ความอดทน  ความเพียร  ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ  และไม่ตระหนี่



หลักเศรษฐกิจพอเพียง




หลักเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  พิจารณาได้ดังนี้
      คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ใน ทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจ

                ธุรกิจพอเพียง หมายถึง  การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ ในระยะสั้น  ดังนั้น  จึงต้องมีความรอบรู้ในธุรกิจที่ตนดำเนินการอยู่  และศึกษาข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้สามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  มีความรอบคอบในการตัดสินใจในแต่ละครั้ง  เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ  ไม่ให้เกิดขึ้น  และต้องมีคุณธรรมคือมีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพ  ไม่ผลิตหรือขายสินค้าที่ก่อให้เกิดโทษหรือสร้างปัญหาให้กับคนในสังคมและสิ่ง แวดล้อม  มีความขยันหมั่นเพียร  อดทนในการพัฒนาธุรกิจไม่ให้มีความบกพร่อง  และก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต  การปรับปรุงสินค้าและคุณภาพให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคและการเปลี่ยน แปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ  และในขณะเดียวกันต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม  และระบบนิเวศวิทยาทุกขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ  โดยการรักษาสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจในระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วน เสียต่างๆ  อย่างสมเหตุสมผล  ตั้งแต่ผู้บริโภค  พนักงาน  บริษัทคู่ค้า  ผู้ถือหุ้น  และสังคมวงกว้างรวมถึงสิ่งแวดล้อม
การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง
      การดำเนินชีวิตในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประกอบอาชีพตามทรัพยากรที่มี อยู่โดยอาศัยความรู้  ความสามารถ  เพื่อให้เกิด   ความพอเพียงในลักษณะพออยู่พอกิน  ก่อให้เกิดความสุขสบายภายในครอบครัว  หากเหลือจากการดำรงชีพสามารถนำไปขาย  เพื่อเป็นรายได้และเก็บออมเป็นเงินทุนต่อไป  การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้ดังนี้
      1. ทำไร่ทำนาสวนผสมผสาน  เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียง
      2. ปลูกผักสวนครัว  เพื่อลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
      3. ใช้ปุ๋ยคอก  และทำปุ๋ยหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี  เพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
      4. เพาะปลูกเห็ดฟางจากฟางข้าและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
      5. ปลูกผลไม้ในสวนหลังบ้านและปลูกต้นไม้ใช้สอย
      6. ปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
      7. เลี้ยงปลาในร่องสวน  ในนาข้าวและสระน้ำ  เพื่อเป็นอาหารและรายได้เสริม
      8. เลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่  เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริมโดยใช้ข้าวเปลือกรำปลายข้าวจากการทำ       นา  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่  พืชผักจากการปลูกในสวน
      9. ทำก๊าชชีวภาพจากมูลสุกร  หรือวัว  เพื่อใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน
    10. ทำสารสกัดชีวภาพจากเศษพืชผักผลไม้  และพืชสมุนไพรที่ใช้ในไร่นา



 



แนวคิดและการปรับใช้เพื่อให้เหมาะสม



แนวคิดและการปรับใช้เพื่อให้เหมาะสม
     รู้จักใช้เงินในการเลือกรับประทานอาหารในราคาที่ควรจะเป็น เช่น ไก่ทอด KFC กับไก่ทอดของไทยตามร้านทั่วๆ ไป จริงอยู่ว่ามันเป็นไก่ทอดเหมือนกัน ขนาดก็เท่ากัน แต่ราคามันห่างกันลิบ ทานไก่ KFC แล้วทำให้เงินมันเหลือน้อยกว่าทานไก่ทอดธรรมดา ทำให้เหลือเงินไปซื้อของใช้จำเป็นอื่นๆ น้อยลงไปอีก เหลือเงินออมน้อยลง เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาชีวิตก็ลำบาก และเป็นทุกข์ ในและมีผลกระทบในภาพรวมคือถ้าทุกคนกินแต่ไก่ KFC เงินออมของทั้งระบบก็จะน้อยลง ทำให้การขยายการลงทุนในประเทศก็จะทำได้ยาก    เนื่องจากเงินออมในธนาคารมีน้อยไม่พอให้ระดมทุน ต้องไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้ามาอีก ประเทศก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทก็จะอ่อนค่าลงตามทฤษฎี อีกอย่างกินไก่ KFC 100 บาท เงินเข้าคนไทย 30 บาท เข้ากระเป๋าฝรั่งไป 70 บาท ซึ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์ เงินไหลออกนอกประเทศอีก
        เลือกใช้ของที่ต้องการในราคาพอเหมาะ เช่น รถยนต์ เป็นตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุด ระหว่างรถเบนซ์ กับรถญี่ปุ่นที่ผลิตในประเทศไทยซึ่งเป็นรถยนต์เหมือนกัน วิ่งได้เหมือนกัน แต่คนส่วนใหญ่อยากจะเลือกรถเบนซ์ เพราะแสดงสถานะทางสังคมว่าเรามีเงิน แต่หลายคนคงจะทราบว่ารถยนต์เป็นสินทรัพย์ที่เสื่อมมูลค่าลงทุกวันตามสัดส่วนเวลา และมีอายุการใช้งาน ดังนั้น ณ วันที่เราขายรถยนต์ ราคาของรถยนต์ราคาแพงก็จะมีมูลค่าลดลงมากกว่า ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าบำรุงรักษาและค่าซ่อม ที่หลายคนใช้รถแพงๆ ตระกูลยุโรปก็โดนศูนย์บริการปล้นแบบไม่ปราณี เพราะช่างซ่อมชาวบ้านทั่วไปก็ซ่อมไม่ได้ ต้องเข้าศูนย์เฉพาะเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ผลิตในต่างประเทศเท่านั้น หลายคนยังคงไม่ทราบว่าประชาชนในประเทศที่เราเห่อรถแพงๆ ของเขา เขากลับไม่เห็นความสำคัญของการแสดงสถานะทางสังคมด้วยรถยนต์เท่ากับบ้านเรา แต่เลือกใช้รถยนต์ที่คุ้มค่าในราคาเหมาะสม ผลกระทบอื่นๆ ก็จะคล้ายๆ กับข้อ 1 เราก็ลองคิดนะว่าซื้อรถเบนซ์มาขับกับซื้อรถผลิตในประเทศแล้ว โดยภาพรวมคนไทยจะได้ประโยชน์จากเงินที่เราจ่ายมากน้อยต่างกันเพียงใด สินค้าหลายอย่างมันแพงเกินราคาก็เพราะเราจ่ายค่าทรัพย์สินทางปัญญา หรือค่าลิขสิทธิ์มากกว่าต้นทุนของสินค้าเองซะอีก
บริโภคสินค้าด้วยเงินออม เราจะเห็นว่าคนในบ้านเรากลับไปบริโภคสินค้าด้วยเงินกู้ เช่น กู้เงินไปซื้อโทรทัศน์ มือถือ กระเป๋าหลุยส์ ฯลฯ แล้วสิ้นเดือนก็ต้องมาเป็นทุกข์ผ่อนชำระกันศีรษะโตเป็นแถบ ลักษณะนิสัยแบบนี้เรียกว่าใช้เงินกันเกินตัว ซึ่งกำลังเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นมะเร็งร้าย ที่กำลังจะลามทำให้เศรษฐกิจอเมริกา ระเบิดในอีกไม่ช้านี้ หลักการคือเราต้องเข้าใจก่อนว่า การบริโภคกับการลงทุนนั้นต่างกัน เช่น ถ้าท่านซื้อมือถือมา เพื่อมาใช้ในวิชาชีพแล้ว มันจะทำเงินกลับมาให้ท่าน นั่นเรียกว่าเป็นการลงทุน แต่ถ้าท่านไม่มีกิจอันใดที่จะใช้ แต่ซื้อมาเพราะว่าคนอื่นเขาก็มีกัน อันนั้นก็เรียกว่าการบริโภค อะไรที่เป็นการลงทุน มันย่อมมีผลตอบแทนคืนมา (แม้ว่าจะสินค้านั้นจะมีมูลค่าเสื่อมถอยทุกวัน) แต่การบริโภคนั้น สินค้าที่ท่านซื้อมาบริโภคมันก็จะมีค่าเสื่อมถอยลงทุกวัน โดยไม่มีผลตอบแทนคืนมา ถ้าท่านบริโภคสินค้าด้วยเงินกู้กันเยอะๆ  ทั้งประเทศมันก็จะมีผลกระทบ ทำให้ท่านไม่สามารถจะมีเงินไปลงทุนได้ เพราะเงินกู้ของท่าน ที่สามารถจะกู้ไปลงทุน ได้ถูกจัดลงในโควต้าของเงิน ที่ท่านกู้ออกมาบริโภคไปแล้ว ท้ายสุด ก็ต้องไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เข้ามาอีก ประเทศก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทก็จะอ่อนค่าลงตามทฤษฎี
      •  ใช้เงินในสิ่งที่มีประโยชน์เป็นรูปธรรมเท่านั้น ตัวอย่างที่จะยกได้ง่ายๆ คือ การส่ง SMS เข้ารายการโทรทัศน์ต่างๆ เท่าที่ทราบ มีแต่ประเทศกำลังพัฒนา และประชาชนไม่มีความคิดเท่านั้น ที่จะนิยมส่ง SMS เข้ารายการโทรทัศน์ มากมายแบบประเทศไทย อย่างเรานั่งดูโทรทัศน์ เราก็สงสัยว่าคนที่ส่ง SMS เข้าไปจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง สรุปก็คือได้แต่ความสะใจ ไม่มีประโยชน์ในทางรูปธรรมอะไรเลย บางคนส่ง SMS เดือนนึงหลายหมื่นบาท แต่ไม่รู้ว่าส่งไปทำไม ซึ่งเป็นการใช้เงินที่ควรจะออมอย่างไม่ถูกเรื่องเท่าไหร่นัก
      • ส่งเสริมการซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ ซึ่งคนไทยเราอาจจะมีจิตสำนึก ในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อยไปบ้าง หากท่านสังเกตุว่าทำไมหลายๆ ชาติที่เจริญ มักจะเป็นชาติที่มีความเป็นชาตินิยมสูงมาก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน จีน ทั้งนี้ เนื่องมาจากสินค้าแบบเดียวกัน คนในชาตินั้นจะเลือกซื้อสินค้า ที่ผลิตในประเทศของเขาก่อน ทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศ ได้มีโอกาสทดลองตลาด ปรับปรุงสินค้า และสะสมเงินทุน ไปทำเรื่อง R&D ต่อยอดไปได้ แต่ถ้าคนไทย เรานิยมซื้อของต่างชาติ มากกว่าของที่ผลิตในประเทศ เงินก็จะไหลออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก เหมือนน้ำที่แห้งเหือดไปจากสระน้ำ แทนที่คนไทยจะได้ประโยชน์จาก Multiplier Effect หรือตัวคูณของการใช้เงินต่อไปเป็นทอดๆ ในระบบเศรษฐกิจของเราเอง แต่เงินกลับไหลออกนอกประเทศ คนไทยก็ได้แต่ค่าแรงในการขายของเท่านั้น สินค้ายี่ห้อดังๆ ของโลก เช่น LG, Samsung, Haier, TCL, Huawei ก็โตมาจากตลาดในประเทศก่อนทั้งนั้นไม่มีใครกระโดดออกไปนอกประเทศแล้วโตเลย อย่างของไทยสมัยก่อนก็มีโทรทัศน์ยี่ห้อธานินทร์ แต่ตอนนี้ก็หายไปจากตลาดแล้ว เพราะคนไทยไม่สนับสนุน
      •งดอบายมุข อันนี้ง่ายที่สุด แต่เป็นปัญหาที่ฝังลงรากลึกสุดของสังคมไทย เพราะหวยทั้งบนดิน ใต้ดิน มันโผล่ออกมยุบยับมาก ขนาดจะดูฟุตบอลโลก หนังสือพิมพ์บ้านเราก็ยังมีราคาต่อรองให้อีก คือไม่ว่าจะเป็นอบายมุขประเภทไหน ก็ทำให้เราไม่มีเงินออมทั้งนั้น พอไม่มีเงินออม ท้ายสุดก็ต้องพึ่งเงินกู้มาบริโภคกันอีก
      •รู้จักลงทุนในสิ่งที่มีประโยชน์ และได้ความรู้ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามให้เราไม่ใช้เงิน เพียงแต่ว่าใช้เงินให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม การลงทุนเพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มขึ้น จากการซื้อหนังสือที่มีประโยชน์มาอ่าน ไปฟังสัมมนา ไปทัศนาจร ไปดูงาน ฯลฯ กล่าวโดยสรุป การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา จะทำให้เราสามารถใช้เงินอย่างคุ้มค่า มีเงินออม เหลือเก็บไว้ใช้ในการบริโภคสิ่งที่จำเป็น ไม่มีภาระหนี้สินที่ไม่จำเป็น เงินออมทั้งระบบ ก็จะเพียงพอต่อการระดมทุน เพื่อการลงทุนในประเทศ ไม่ต้องพึ่งพิงเงินตราต่างประเทศ ที่เข้าเร็วออกเร็ว แบบที่เราเรียกว่า Hot Money ประเทศก็จะมีเงิน ไม่ต้องขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกันแบบสมัยฟองสบู่ ค่าเงินบาทก็จะไม่อ่อน เศรษฐกิจในประเทศก็จะแข็งแกร่ง ไม่ต้องมาปวดหัวเถียงกันเรื่องจะขึ้นหรือไม่ขึ้นดอกเบี้ย เพราะอเมริกาจะขึ้นดอกเบี้ย และกลัวเงินจะเฟ้อคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นหมายถึงความพอดีด้วยนะ ไม่ได้ห้ามกู้หนี้มาลงทุนแต่อย่างใด ตราบใดที่กู้หนี้ยืมสินแล้วมาลงทุน แต่การลงทุนนั้นยังสามารถให้ผลตอบแทนที่มีความเป็นไปได้ว่าจะชำระหนี้ได้ก็ ถือว่าพอเพียง  แต่ถ้าสมมติว่าเราไปกู้ธนาคารมาทำโปรเจ็กแบบสมัยก่อนประเทศไทยเกิดวิกฤติปี 2540 แล้วมีการจ่ายเงินปากถุงให้กับทีมวิเคราะห์ของธนาคาร (สมมติ) เพื่อให้ตีมูลค่าโปรเจ็กมากๆ แล้วให้ปล่อยกู้เงินมากๆ เกินกว่าที่ผลตอบแทนการลงทุนจะได้ ท้ายสุดถ้าในความเป็นจริงมันไม่เวิร์ค โปรเจ็กก็ล่ม ธนาคารก็มี NPL คนฝากเงินก็รับเคราะห์ รัฐบาลต้องเข้ามากู้เรือล่ม ก็เดือดร้อนเงินภาษีของเราอีก  ซึ่งจากข้างต้นคำว่าพอเพียงกับความต้องการประสบความสำเร็จมันคงเป็นคนละ เรื่องกัน สมมติว่าเราต้องการประสบความสำเร็จในทางธุรกิจ และมีความทะเยอทะยาน เราก็ต้องดำเนินการแบบพอเพียง คือไม่ใช้วิธีแบบทำธุรกิจเกินตัว แล้วเราไม่สามารถใช้หนี้ได้ ซึ่งโดยสรุปเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั้นจะหมายถึงวิธีการ และแนวคิดอันที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ว่ามันเกินตัว และถูกต้องตามครรลองหรือไม่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Incentive ที่จะลงทุนแต่อย่างใด จะลงทุนมากน้อยก็อยู่ที่วิธีการว่าเป็นการดำเนินการที่เกินตัวหรือไม่   ประเทศไทยเราโชคดีจริงๆที่มีพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงอัจฉริยะภาพ พระราชทานแนวคิด การใช้ชีวิต ที่เป็นทางสายกลางให้กับพวกเราทุกคน และเป็นกุญแจ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ทุกยุคทุกสมัย ซึ่งรัฐบาล ควรจะขยายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เข้าสู่หลักคิดของคนในชาติ ให้มากที่สุด  ยิ่งถ้าทุกคนในโลกยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะไม่มีการเบียดเบียนทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เอารัดเอาเปรียบ คนหรือประเทศที่ด้อยกว่าแบบทุกวันนี้