เศรษฐกิจพอเพียงตามทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
จากปรัญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้มีผู้นำแนวคิดไปปฏิบัติจำนวนมาก
โดยเฉพาะเกษตรกร ได้นำ “
หลักการเศรษฐกิจพอเพียง “ ไปปฏิบัติควบคู่กับ “ หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ “
ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่มุ่งให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ
ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชนบทโดยยึดหลักการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน และมีความชัดเจนในการกำหนดพื้นที่
โดยมีขั้นตอนและตัวอย่างในการปฏิบัติเป็นรูปธรรม
“ เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ
ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความ
มีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล
กระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง
ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม
ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ
เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการปฎิบัติตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่
การปฎิบัติตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการการเกษตรทฤษฎีใหม่ มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ ๑ เป็นขั้นตอนตาม
“หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่”
ซึ่งให้ความสำคัญในการแบ่งพื้นที่ให้ประชาชนในชนบทดำรงชีวิตได้อย่าง “ พอเพียง
พอกิน” โดยดำเนินการดังนี้
๑. แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน
๒. ใช้พื้นที่ ๓ ส่วนแรกในการเก็บกักน้ำ
และทำการเกษตร
๓. ใช้พื้นที่ส่วนที่ ๔ สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย
ขั้นที่
๒ เกษตรกรจะรวมพลังในรูปของกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมแรงกันในเรื่องของการผลิต การตลาด
ความเป็นอยู่ สวัสดิการ ตลอดจนเรื่องการศึกษาและสังคม
ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการ มูลนิธิและเอกชน
ขั้นที่
๓ เกษตรกรร่วมมือกับวิสาหกิจในชุมชน อาทิ ธนาคาร บริษัทน้ำมัน ฯ เพื่อก่อตั้งและบริหารโรงสี ร้านสหกรณ์
เมื่อกิจการมีความมั่นคงอาจขยายผลเป็น “ บริษัทหมู่บ้าน...จำกัด “
ตัวอย่างของการแบ่งพื้นที่ตามหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่
โดยเฉลี่ยเกษตรกรไทยมีพื้นที่ถือครองครอบครัวละ ๑๐-๑๕ ไร่
เพื่อให้เกิดผลผลิตรวมดีขึ้น จึงควรแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นสัดส่วนดังนี้
ส่วนที่ ๑: ร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่
ใช้เป็นพื้นที่สำหรับขุดสระน้ำหรืออ่างเก็บน้ำโดยให้มีความลึกเพียงพอที่จะบรรจุน้ำไว้ประมาณ
๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร เพื่อกักเก็บน้ำในฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง
จะได้ทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี
ส่วนที่ ๒: ร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่
ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำไร่ ทำนา และปลูกข้าว
ส่วนที่ ๓: ร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่ ใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกไม้ผล หรือทำไร่นาสวนผสม
ส่วนที๔:
ร้อยละ๑๐ ของพื้นที่
ใช้เป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย สร้างคอกสัตว์ ทำคันนา ปลูกพืชผักสวนครัว ทำถนน
สร้างที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการเกษตร
การทำพื้นที่๓
ส่วนแรกจะให้ประโยชน์และคุณค่าแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่และความสามารถ
ในการบริหารจัดการ เช่นถ้ามีพื้นที่มาก
ก็สามารถผลิตได้มากเกินความต้องการและถ้ามีความสามารถในการจัดเก็บได้ดี สามารถหาตลาดเพื่อการจำหน่ายได้
ก็จะสามารถเพิ่มรายได้แก่เกษตรได้มาก
ผลดีของการเกษตรทฤษฏีใหม่
การนำหลักการเกษตรทฤษฏีใหม่มาใช้ในการเกษตร จะก่อให้เกิดการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง โดยก่อให้เกิดผลดีต่อเกษตรและสังคมโดยรวมดังนี้
๑. พื้นที่ส่วนที่๑ คือบ่อเก็บกักน้ำ
สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
๒. เป็นการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีการปล่อยวาง
แล้วผลิตหมุนเวียนตามลักษณะพืชแต่ล่ะชนิด
๓. ผลผลิตที่ได้หลากหลาย
พอเพียงแก่การบริโภคในครัวเรือน
อาจมากพอสำหรับการบริโภคทั้งปี
๔. ทำให้เกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น
๕. ทำให้เกษตรมีงานทำตลอดทั้งปี
๖. เมื่อไม่มีเวลาว่าง ทำให้ไม่มีเวลาในการเล่น
เสพ และการบันเทิงที่อาจเกิดปัญหาชวิตและครอบครัว
๗. ผลต่อประเทศโดยตรง ในอันที่จะช่วยให้ประเทศมั่นคง
๘. เกิดการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน